HTML
การวางโครงสร้างเว็บไซต์
หลักการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์มีดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาว่าเป้าหมายของการสร้างเว็บไซต์นี้ทำเพื่ออะไร
2. ศึกษาคุณลักษณะของผู้ที่เข้ามาใช้ว่ากลุ่มเป้าหมายใดที่ผู้สร้างต้องการสื่อสาร ข้อมูลอะไรที่พวกเขาต้องการโดยขั้นตอนนี้ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับขั้นตอนที่หนึ่ง
3. วางแผนเกี่ยวกับการจัดรูปแบบโครงสร้างเนื้อหาสาระ การออกแบบเว็บไซต์ต้องมีการจัดโครงสร้างหรือจัดระเบียบข้อมูลที่ชัดเจน การที่เนื้อหามีความต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุดหรือกระจายมากเกินไป อาจทำให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้ได้ ฉะนั้นจึงควรออกแบบให้มีลักษณะที่ชัดเจนแยกย่อยออกเป็นส่วนต่าง ๆ จัดหมวดหมู่ในเรื่องที่สัมพันธ์กัน รวมทั้งอาจมีการแสดงให้ผู้ใช้เห็นแผนที่โครงสร้างเพื่อป้องกันความสับสนได้
4. กำหนดรายละเอียดให้กับโครงสร้าง ซึ่งพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยตั้งเกณฑ์ในการใช้ เช่น ผู้ใช้ควรทำอะไรบ้าง จำนวนหน้าควรมีเท่าใด มีการเชื่อมโยง มากน้อยเพียงใด
รูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความชอบของผู้ออกแบบ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. โครงสร้างแบบเรียงลำดับ (Sequential Structure)
เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวตามลำดับของเวลา เช่น การเรียงลำดับตามตัวอักษร ดรรชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อนใช้การลิงก์ (Link) ไปทีละหน้า ทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมี ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของโครงสร้างระบบนี้คือ ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้
การสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรมภาษาhtml
สาระการเรียนรู้
ภาษา HTML เป็นภาษาที่ใช้สร้างเอกสารเวบเพ็จตามมาตรฐานของ The World Wide Web Consortium (W3C) ที่สามารถส่งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและ วีดิทัศน์ ในระบบเครือขายอินเทอร์เน็ต แสดงผลผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้ทุกระบบปฏิบัติการ โดยที่ เอกสาร เว็บจะต้องมีการเชื่อมโยง(Link) ถึงกันได้ การเรียนรู้โปรแกรมภาษาHTML ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ Text จะใช้โปรแกรม Text Editor เชน่ Note pad , Edit Plus, WordPad หรืออื่นๆ เขียนได้เป็นการเรียนรู้ การใช้คําสั่ง สร้างเว็บให้แสดง ข้อความ จัดการรูปแบบเนื้อหาให้อ่านได้ ง่าย ด้วยการใช้ตารางช่วย สร้างความนาสนใจเช่น ใส่รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว สร้างการเชื่อมโยง (Link) เว็บเพจ ในเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้ เนื้อหาในหนวยการเรียนนี้เป็นการเรียนรู้คําสั่งพื้นฐาน ที่สําคัญของ ภาษา HTML เกี่ยวกับรูป รูปแบบโครงสร้างคำสั่ง และการกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม เท่านั้น เพื่อนำความรู้ไปใช้แก้ไข Code คําสั่ง HTML ในโปรแกรมสร้างเว็บแบบสำเร็จรูป (WYSIWYG) ซึ่งสร้าง คําสั่ง HTML ใหโดยอัตโนมัติได้ในหน่วยการเรียนต่อไป
ภาษา HTML
ภาษา HTML (HyperText Markup Language) เป็นภาษาหลักทีใช่ในการสร้างเวบเพ็จ (Web Page) เป็นภาษาประเภท Markup Language เกิดขิึ้นจากการพัฒนาระบบWorld Wide Web ในเดือนมีนาคม1989โดยนักวิจัยจากสถาบัน CERN (Conseil European Pour La Recherche Nucleaire) ซึ่งเป็นห้องทดลองในเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ชื่อ ทิม เบอร์เนอร์ลี (Tim Berners - Lee) ซึ่งทิมเบอร์เนอร์ลีได้นําแนวความคิดในเรือง Hypertext ของ Vannevar Bush และ Ted Nelson มาใช้เพื่อกระจายข้อมูลในองค์ต่อมามี การพัฒนาและกําหนดมาตรฐานโดยองค์กรที่ชื่อว่า W3C (World Wide Web Consortium)
ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสก็(ASCII Code) โดยเขียนอยู่ในรูปของเอกสารข้อความ (Text Document) จึงกําหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย ภาษา HTML ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ HTML Level 1 (รุ่นดังเดิม), HTML 2.0, HTML 3.0, HTML 3.2 และ HTML 4.0 ซึ่งเป็นรุ่นที่นิยมเขียนกันในปัจจุบัน (ขณะน ี้ W3C ได้พัฒนา HTML 4.01 ออกมาแล้ว เพื่อลองรับมาตรฐานภาษา XML) จึงทำให้ภาษาHTML ในปัจจุบันสามารถแสดงภาพทางกราฟฟิกและระบบเสียงได้เพื่อตอบสนองในการทำงานในปัจจุบัน
ภาษา HTML สามารถสร้างขึ้นได้จากโปรแกรมสร้างไฟล์ข้อความ (Text Editor) ทัวๆไป เช่น Notepad หรือ Word Processing ได้อีกทั้งงายต่อการเรียนรู้เพราะภาษา HTML ไม่มีโครงสร้างความเป็น Programming เลยแม้แต่น้อย และไฟล์ที่ไดจากการสร้างเอกสาร HTML ยังมีขนาดเล็กอีกด้วยนามสกุลของไฟล์ HTMLจะเป็นไฟลนามสกุล .htm หรือ .html ซึ่งใช้ในทั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) และระบบปฏิบัติการ Windows และเรียกใช้งานได้จากเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
การวางโครงสร้างเว็บไซต์
หลักการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์มีดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาว่าเป้าหมายของการสร้างเว็บไซต์นี้ทำเพื่ออะไร
2. ศึกษาคุณลักษณะของผู้ที่เข้ามาใช้ว่ากลุ่มเป้าหมายใดที่ผู้สร้างต้องการสื่อสาร ข้อมูลอะไรที่พวกเขาต้องการโดยขั้นตอนนี้ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับขั้นตอนที่หนึ่ง
3. วางแผนเกี่ยวกับการจัดรูปแบบโครงสร้างเนื้อหาสาระ การออกแบบเว็บไซต์ต้องมีการจัดโครงสร้างหรือจัดระเบียบข้อมูลที่ชัดเจน การที่เนื้อหามีความต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุดหรือกระจายมากเกินไป อาจทำให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้ได้ ฉะนั้นจึงควรออกแบบให้มีลักษณะที่ชัดเจนแยกย่อยออกเป็นส่วนต่าง ๆ จัดหมวดหมู่ในเรื่องที่สัมพันธ์กัน รวมทั้งอาจมีการแสดงให้ผู้ใช้เห็นแผนที่โครงสร้างเพื่อป้องกันความสับสนได้
4. กำหนดรายละเอียดให้กับโครงสร้าง ซึ่งพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยตั้งเกณฑ์ในการใช้ เช่น ผู้ใช้ควรทำอะไรบ้าง จำนวนหน้าควรมีเท่าใด มีการเชื่อมโยง มากน้อยเพียงใด
รูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความชอบของผู้ออกแบบ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบใหญ่ๆ ได้ดังนี้
โครงสร้างแบบเรียงลำดับ (Sequential Structure)
เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวตามลำดับของเวลา เช่น การเรียงลำดับตามตัวอักษร ดรรชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อนใช้การลิงก์ (Link) ไปทีละหน้า ทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมี ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของโครงสร้างระบบนี้คือ ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้